เลือก เครื่องกรองน้ำ ( Water ionizer ) ให้ เหมาะสมกับการใช้งาน
Share: facebook_share line_share twitter_share messenger_share

เลือก เครื่องกรองน้ำ ( Water ionizer ) ให้ เหมาะสมกับการใช้งาน


เพื่อน ๆ เคยสงสัยกันไหมคะว่า เครื่องกรองน้ำ ( Water ionizer ) นั้นที่จริงแล้วมี กี่ประเภท กี่ระบบ แล้วควรจะเลือกระบบอะไรที่จะ เหมาะสมกับการใช้งาน ของเรา วันนี้เรามีคำตอบมาให้เพื่อน ๆ กันในบทความนี้ค่ะ

 

 ระบบต่าง ๆ ของ เครื่องกรองน้ำ ( Water ionizer )

1. เครื่องกรองน้ำ ( Water ionizer ) ระบบธรรมดา คือ ในการกรองทั้ง 5 ขั้นตอน มีเพียงไส้กรอง 3 ชนิด เท่านั้น  ได้แก่ Sediment ( PP ), Carbon และ Resin ความละเอียดในการกรองสูงสุดจะมีขนาด 1 ไมครอน

 

2. เครื่องกรองน้ำ ( Water ionizer ) ระบบ MF และ Ceramic ที่เอา 2 ระบบนี้มาอยู่ด้วยกันเนื่องจากสามารถกรองได้ 3-0.9 ไมครอน เหมือนกัน ระบบกรอง สามารถอยู่ได้ทั้งขั้นตอนที่ 1 , 3 และ 4 ขึ้นอยู่กับการจัดเรียงไส้กรอง และ ชนิดของไส้กรอง

 

3. เครื่องกรองน้ำ ( Water ionizer ) ระบบ UF และ Nano เป็นระบบที่สามารถกรองละเอียด 01 และ 0.001 ไมครอนตามลำดับ และ เป็นระบบที่ดักเชื้อที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ดีทั้งคู่ เชื้ออีโคไลน์ ที่เป็นสาเหตุของอาการท้องร่วงไม่สามารถผ่านระบบนี้ได้ ทำให้เป็นระบบที่ดีพอในการทำน้ำดื่ม กรณีที่ลูกค้ามีงบประมาณตั้งแต่ 1,500 บาท ขึ้นไปสามารถดูระบบ UF จะได้คุณภาพน้ำที่ค่อนข้างดี

 

4. เครื่องกรองน้ำ ( Water ionizer ) ระบบ RO ( Reverse Osmosis ) เป็น ระบบกรองน้ำ ในบ้านที่ดีที่สุดเท่าที่โลกจะผลิตได้ในตอนนี้ กรองได้ละเอียดถึง 0.001 ไมครอน ละเอียดที่สุดในบรรดาระบบที่มีทั้งหมด ส่วนใหญ่การวัดความสามารถของระบบนี้อยู่ที่ไส้กรอง Membrane RO โดยดูที่อัตรา Salt Rejection ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่เกิน 90% ทุกยี่ห้อ แต่ยี่ห้อที่ดีที่สุดในตลาด คือ Filmtec RO Membrane มีอัตรา Salt Rejection อยู่ที่ 99.5% เรียกได้ว่าจากน้ำกร่อย กลายเป็นน้ำจืดเลยทีเดียว

 

 

 

หมายเหตุ

1. เกณฑ์ที่อนุโลมให้สูงสุดเป็นเกณฑ์ที่อนุญาตให้สำหรับน้ำประปา หรือน้ำบาดาลที่มีความจำเป็นต้องใช้บริโภคเป็นการชั่วคราว และ น้ำที่มีคุณลักษณะอยู่ในระหว่างเกณฑ์กำหนดสูงสุด กับเกณฑ์อนุโลมสูงสุดนั้นไม่ไช่น้ำที่ให้เครื่องหมายมาตรฐานได้

2. หากแคลเซียมมีปริมาณสูงกว่าที่กำหนด และแมกนีเซียม มีปริมาณต่ำกว่าที่กำหนดในมาตรฐานให้พิจารณาแคลเซียม และ แมกนีเซียมในเทอมของความกระด้างทั้งหมด ( Total Hardness ) ถ้ารวมความกระด้างทั้งหมดเมื่อคำนวณเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต มีปริมาณต่ำกว่า 300 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้ถือว่าน้ำนั้นเป็นไปตามมาตรฐานการแบ่งระดับความกระด้างของน้ำ ดังต่อไปนี้

  • 0 ถึง 75 มิลลิกรัมต่อลิตร เรียก น้ำอ่อน
  • 75 ถึง 150 มิลลิกรัมต่อลิตร เรียก น้ำกระด้างปานกลาง
  • 150 ถึง 300 มิลลิกรัมต่อลิตร เรียก น้ำกระด้าง
  • 300 มิลลิกรัมต่อลิตรขึ้นไป เรียก น้ำกระด้างมาก

 

หากซัลเฟต มีปริมาณถึง 250 มิลลิกรัมต่อลิตร แมกนีเซียม ต้องมีปริมาณไม่เกิน 30 มิลลิกรัมต่อลิตร ( มิลลิกรัมต่อลิตร = มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร )

 

มาตรฐานน้ำเพื่อการบริโภคของกรมควบคุมมลพิษ TDS ไม่ควรเกิน 500 ppm และ PH อยู่ระหว่าง 6.5 – 8.5 ทำให้เราทราบว่านำจากการประปานครหลวง และ ประปาส่วนภูมิภาคสามารถดื่มได้ เนื่องจากค่า TDS เท่าที่ทางเราวัดมาหลายจังหวัดไม่เคยถึง 500 เลย ส่วนใหญ่อยู่ประมาณ 120-370 ppm. ไม่เกินนี้ ส่วน PH ก็ตามมาตรฐานที่กำหนดเช่นกัน การใช้ เครื่องกรองน้ำ ( Water ionizer ) 5 ขั้นตอนก็เพียงพอแล้ว แต่ใครต้องการความมั่นใจ และ มีงบประมาณระดับหนึ่ง ก็เลือก เครื่องกรองน้ำ ( Water ionizer ) ระบบ UF และ ระบบ RO ได้เลย

 

สุขภาพที่ดี เริ่มได้ที่ตัวคุณ ด้วยความปรารถนาดีจาก เครื่องกรอง น้ำด่าง ( อัลคาไลน์ ) รุ่นใหม่ AL-808A S2 ตราแมนเนเจอร์ ( Alkaline Water Ionizer By ManNature )

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

เครื่องกรองน้ำอัลคาไลน์ ( Alkaline Water Ionizer ) จำเป็นจริงไหม

พิจารณาก่อนทำการเลือกซื้อ เครื่องกรองน้ำอัลคาไลน์


Tag :